สารบัญ
แนวคิด เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) คืออะไร
หลักการเพอร์มาคัลเจอร์ 12 ประการ
จะนำหลักเพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) มาใช้ในชีวิตจริง ได้อย่างไร?
ข้อมูลอ้างอิง
รู้จักหลักการ เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture): ออกแบบระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น
หลายคนจะรู้จัก ‘เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture)’ มาจากแนวทางทำเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งแนวคิดนี้มีรากฐานมาจากปรัชญาการใช้ชีวิต โดยเชื่อว่า เราควรออกแบบไลฟ์สไตล์ให้สอดคล้องกับวัฎจักรธรรมชาติ เพราะวิธีนี้จะช่วยปกป้องระบบนิเวศให้สมดุลในระยะยาว
หลักการของเพอร์มาคัลเชอร์ จะทำงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ โดยพึ่งพาอาศัยกัน ดูแลกัน ส่งเสริมกัน จนนำไปสู่ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ทำให้สิ่งมีชีวิตเติบโตอย่างมั่งคงและช่วยสร้างโลกสีเขียวในเวลาเดียวกัน
แนวคิด เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) คืออะไร
- ต้นกำเนิดของแนวคิด: เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) เป็นแนวคิดของบิล มอลลิสัน และเดวิด โฮมกรีน ในช่วงปี 1970 ที่เอาคำว่า “ถาวร” และ”เกษตกรรม” มารวมกัน จนเป็นไอเดียของการทำเกษตรที่เลียนแบบระบบของธรรมชาติ เพื่อดูแลให้สิ่งมีชีวิตเติบโตอย่างมั่งคงและมีความหลากหลายขึ้น
- แนวคิดปรัชญา: หัวใจของหลัก เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนและสร้างระบบนิเวศที่สมดุลในระยะยาว ซึ่งแนวนี้ไม่ได้เอามาใช้เฉพาะการทำเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังไปใช้เป็นหลักการดำเนินชีวิตในมุมมองอื่นๆได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องพัฒนาสังคมและชุมชน , เรื่องออกแบบเมืองให้น่าอยู่ ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการเพอร์มาคัลเจอร์ 12 ประการ
1. สังเกตุและทำงานร่วมกัน: ควรใช้เวลาในการสังเกตุและเรียนรู้ระบบนิเวศในธรรมชาติอย่างค่อยเป็นค่อยไป แนวคิดนี้จะเน้นว่า เราควรเข้าใจธรรมชาติทุกแง่มุมก่อน ถึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
2. หมุนเวียนพลังงานกลับมาใช้ใหม่: ควรนำพลังงานจากธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ใหเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเอาใช้ในรูปแบบพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ วิธีนี้จะช่วยกักเก็บพลังงานได้ระยะยาวและไม่สูญเปล่าในอนาคต
3. เห็นลัพธ์การเติบโต: วัดผลลัพธ์ให้แน่ใจว่า ความพยายามที่คอยดูแลระบบนิเวศ ปกป้องธรรมชาติอยู่เสมอ เริ่มเห็นผลแบบจับต้องได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น อาหาร พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ สิ่งเหล่านี้เริ่มได้รับการฟื้นฟูแล้ว
4. มีวินัยและยอมรับทุกความเห็น: เข้าใจว่าเรื่องข้อจำกัดและจัดการระบบนิเวศอย่าง เป็นระบบ พร้อมยอมรับทุกความเห็น แล้วนำมาปรับปรุงในแนวทางดูแลธรรมชาติ
5. เห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ: ให้ความสำคัญการเรื่องการใช้ทรัพยากร หมุนเวียนมากกว่าทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
6. ใช้และลดขยะให้เหลือศูนย์: ออกแบบระบบรีไซเคิลที่นำเอาทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพราะจะช่วยลดของเสียหรือขยะเสียให้เกิดน้อยที่สุด
7. วางแนวทางดูแลธรรมชาติจากภาพใหญ่ไปสู่ภาพย่อย: ควรวางแนวทางในการดูแลระบบ นิเวศด้วยหลักการที่กว้าง แล้วนำแนวนี้ไปใช้กับการปฎิบัติในทุกขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบพื้นที่สีเขียวที่นำไปสู่การสร้างชุมชนน่าอยู่
8. เน้นการทำงานร่วมกันมากกว่าแยกกัน: ส่งเสริมให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันและกัน เพื่อรักษาธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์
9. เริ่มต้นลงมือทำสิ่งเล็กและแก้ปัญหาอย่างช้าๆ: เริ่มต้นลงมือทำสิ่งเล็กในการดูแลพื้นที่สีเขียว ใส่ดูแลธรรมชาติทีละเรื่องอย่างสม่ำเสมอและแก้ปัญหาอย่างช้าๆ วิธีการนี้จะช่วยให้คุณจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวได้อย่างยั่งยืน
9. เริ่มต้นลงมือทำสิ่งเล็กและแก้ปัญหาอย่างช้าๆ: เริ่มต้นลงมือทำสิ่งเล็กในการดูแลพื้นที่สีเขียว ใส่ดูแลธรรมชาติทีละเรื่องอย่างสม่ำเสมอและแก้ปัญหาอย่างช้าๆ วิธีการนี้จะช่วยให้คุณจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวได้อย่างยั่งยืน
11. ใส่ใจกับมิติที่ส่งผลต่อระบบนิเวศมากที่สุด: ใส่ใจกับเรื่องขอบเขตที่จะส่งผล กระทบต่อธรรมชาติมากทีสุด เช่น ผืนป่า ทุ่งนาและต้นน้ำ เพราะทรัพยากรเหล่านี้ มีมูลค่าและส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตโดยรวมบนโลกของเรา
12. ปรับตัวเองและยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์: ปรับตัวในการดูแลระบบนิเวศและ ธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ วิธีนี้จะช่วยให้เรารับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและวิฤกตต่างๆได้ดี
จะนำหลักเพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) มาใช้ในชีวิตจริง ได้อย่างไร?
- การทำสวน: ใช้เทคนิคการปลูกร่วมกัน การคลุมดินและการเก็บเกี่ยวน้ำ เพื่อสร้างระบบสวนแบบพึ่งพาตนเองได้
- การออกแบบชุมชน: เน้นพัฒนาหมู่บ้านเชิงนิเวศและจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน โดยทำงานร่วมกันระหว่างทรัพยากรธรรมชาติกับชุมชน เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
- ชีวิตประจำวัน: นำแนวทางลดขยะให้เหลือศูนย์และเลือกพลังงานหมุนเวียน มาปรับใช้ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยดูแลโลก
หลักการ ‘เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture)’ อีกหนึ่งวิธีดูแลระบบนิเวศในธรรมชาติที่ทำตามได้ง่าย ปรับเข้าได้กับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เพราะเป็นการทำงานร่วมระหว่างธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ ซึ่เรางทุกคนสามารถออกแบบวิธีการดูแลสิ่งแวดล้อมในแบบฉบับของตัวเองอย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
เริ่มลงมือทำจากจุดเล็กแล้วค่อยๆแก้ปัญหาเรื่องระบบนิเวศทุกมิติอย่างช้าๆ โดยทั้งหมดก็ล้วนกลมกลืนไปกับกระบวนการดูแลระบบนิเวศและช่วยฟื้นฟูธรรมชาติให้สมบูรณ์ ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นนักทำสวนมือใหม่ นักออกแบบผังเมืองหรือคนธรรมดาทั่วไป เราทุกคนก็ล้วนมีส่วนช่วยดูแลโลกใบนี้ได้ไปด้วยกัน!
ข้อมูลอ้างอิง
- Mollison, B. (1988). “Permaculture: A Designer’s Manual.” Tagari Publications.
- Holmgren, D. (2002). “Permaculture: Principles & Pathways Beyond Sustainability.” Holmgren Design Services.
- Whitefield, P. (2004). “The Earth Care Manual: A Permaculture Handbook for Britain & Other Temperate Climates.” Permanent Publications.